บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันอังคารวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 14.10-17.30 น.
กิจกรรมวันนี้
ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์มีกิจกรรมผ่อนคลายสมองมาให้นักศึกษาได้เล่น
กิจกรรม ''รถไฟเหาะแห่งชีวิต'' เป็นแบบทดสอบของประเทศจีนเชิงจิตวิทยา
เข้าสู่บทเรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะด้านสังคม
สภาพแวดล้อมสังคมไม่ได้บอกบ่งว่าเด็กจะต้องเป็นไปตามสังคมนั่น เด็กอาจจะมีความสุขในตัวของเด็กเอง พ่อ แม่ก็ไม่ได้มีสาเหตุที่ทำให้เด็กขาดทักษะทางสังคม
กิจกรรมการเล่น
การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งกับการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดนอาศัยของเล่นเป็นสื่อจะเล่นเลียนแบบเพื่อน ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรอย่างอื่นที่สามารถ สำวจ ผลัก สัมผัส ดึง เด็กพิเศษเมื่อเห็นสิ่งของวางอยู่เขาจะไม่หลบ เขาจะเดินเหยียบสิ่งของนั่น เพราะเขาถือว่าเส้นทางนี้เป็นทางเดินของเขา แม้จะมีสิ่งใดมาวางอยู่ก็ตาม
การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งกับการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดนอาศัยของเล่นเป็นสื่อจะเล่นเลียนแบบเพื่อน ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรอย่างอื่นที่สามารถ สำวจ ผลัก สัมผัส ดึง เด็กพิเศษเมื่อเห็นสิ่งของวางอยู่เขาจะไม่หลบ เขาจะเดินเหยียบสิ่งของนั่น เพราะเขาถือว่าเส้นทางนี้เป็นทางเดินของเขา แม้จะมีสิ่งใดมาวางอยู่ก็ตาม
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไรครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบจะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นอย่างไร ครูจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
วางแผ่นกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง คำนึงถึงเด็กทุกคน ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน แต่จะต้องมีเด็กพิเศษเพียงหนึ่งคนเท่านั้นเพราะว่าจะง่ายต่อการดูแล 3ต่อ 1 เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครูให้เด็กพิเศษ
ครูปฎฺิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
ดูแลอยู่ใกล้ๆเฝ้ามองอย่างสนใจ เอาวัสดุอุุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อให้น้องไม่เบื่อให้ของเล่นอย่างละครึ่ง เพื่อให้เด็กรู้จักการรอคอย การเสียสละ และแบ่งปัน
ครูพูดชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน ให้เด็กพิเศษนำอุปกรณ์มาเป็นจุดสนใจและเข้าไปเล่นกับเพื่อน ครูประคองมือเด็กในการทำิจกรรมก่อน สัมผัสถึงตัวเด็ก
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
ควรให้โอกาสเด็ก ให้เด็กทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ครูไม่ควรใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
กิจกรรมที่ 2
อาจารย์สอนร้องเพลง 6 เพลง
1.เพลง ดวงอาทิตย์
2.เพลง ดวงจันทร์
3.เพลงดอกมะลิ
4.เพลง กุหลาบ
5.เพลง นกเขาขัน
6.เพลง รำวงดอกมะลิ
กิจกรรมที่ 3 ศิลปะบำบัด
อาจารย์ให้จับคู่กับเพื่อน 2 คน
โดยกำหนดว่าใครจะลากเส้นจุด กับ เส้นวงกลม และให้ออกไปเอาอุปกรณ์
อุปกรณ์ที่ใช้ สีเทียน กระดาษ ดิฉันเป็น จุด
หนูเป็นเส้นค่ะ และมีข้อตกลงดังนี้คือ
- ให้นักศึกษามองว่าเส้นที่ตนและเพื่อนทำนั่นเป็นรูปอะไรและให้ระบายสีออกมาให้สวยงาม
ผลงานของฉัน
ศิลปะบำบัด มีประโยชน์หลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และกลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด สามารถเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นต่างๆ
เข้ามากระทบ นำมาใช้ในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมวยให้มีการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว และช่วยควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นำมาใช้ใน กลุ่มเด็กสมองพิการ หรือ ซีพี เด็กที่มีปัญหาด้านการพูดและการสื่อสาร กลุ่มเด็กออทิสติก และกลุ่มที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ศิลปะบำบัดช่วยเสริมสร้างทักษะสังคม ช่วยให้เข้าใจอารมณ์ ความคิดของตนเอง และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นนำมาใช้ในกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องด้านทักษะสังคม และการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น
การนำไปประยุกต์ใช้
การส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษถือเป็นการช่วยให้เด็กอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เราสามารถนำสิ่งที่อาจารย์สอนว่าครูควรปฏิบัติอย่างไรในการสอนเด็ก ถือว่าเป็นแนวทางที่ไปใช่ได้จริงและทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดได้ ในศิลปะบำบัดที่อาจารย์ให้ทำนั่น ถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นำไปประยุกต์ใช้กับเด็กพิเศษได้ดี เด็กจะพัฒนาในทุกด้านทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา และถือว่าเป็นวิธีง่ายๆที่ใช้หลังจากการเล่นของเด็กได้อีกด้วย
ประเมินตนเอง : เข้าใจตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ช่วยเพืื่อนร้องเพลงอย่างเต็มที่ มีคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย เข้าใจที่อาจารย์สอนได้ดี
ประเมินเพื่อน : เพื่อนคุยกันบ้าง ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์สอนได้ดี ช่วยกันร้องเพลงทุกคน เข้าห้องเรียนตรงเวลา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างจากสถานการณ์จริง ใช้สื่อ Powerpoint มีการร้องเพลงเพื่อผ่อนคลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น