วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 17

บันทึกอนุทินครั้งที่ 17
วันอังคารวันที่  28 เมษายน   พ.ศ. 2558
เวลาเรียน  14.10-17.30  น.


Photobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image Hosting

กิจกรรมวันนี้
วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของเทอมนี้
อาจารย์นัดให้ส่งใบคะแนนการเข้าเรียน มีการแจกของรางวัลให้เพื่อน
ที่ได้คะแนนเยอะที่สุด 3 คนของห้อง 

และสอบร้องเพลงคนละ 1 เพลง
อาจารย์จะจับฉลากให้ แล้วให้นักศึกษาออกมาร้องเพลง 

ฉันได้ร้องเพลง ท่องเที่ยวนา
ฉันท่องเที่ยวไป 
ผ่านตามท้องไร่ ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับๆดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว 

จากนั้นอาจารย์ก็อวยพรให้นักศึกษาสอบได้เกรดดีๆกันทุกคน 



การนำไปประยุกต์ใช้  
       นำเอาเพลงเด็กที่อาจารย์ให้สอบร้องนั้นไปใช้สอนเด็กได้จริง เป็นเพลงที่ง่าย มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องรอบตัวของเด็ก เด็กๆจะได้จดจำและสนุกกับการร้องเพลงมากกว่าการท่องจำ


ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร้องเพลงได้ถูกและมีความมั่นใจเพราะเตรียมตัวมาอย่างดี ได้คะแนนร้องเพลง 5 คะแนน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนบางกลุ่มมาสาย เพื่อนบางคนยังร้องเพลงผิดจังหวะบ้าง จำเนื้อร้องไม่ได้บ้าง แต่อาจารย์ก็ให้โอกาสเพื่อนทุกคน

ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา  อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษาเสมอ อาจารย์น่ารัก เรียนด้วยแล้วไม่เบื่อ สอนเข้าใจ มีความรู้มาบอกนักศึกษาอยู่ตลอด 


สัปดาห์ที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วันอังคารวันที่  21 เมษายน   พ.ศ. 2558
เวลาเรียน  14.10-17.30  น.


Photobucket - Video and Image Hosting

กิจกรรมวันนี้
         วันนี้อาจารย์มีคำถามคลายเครียดให้เล่นก่อนเรียน 
เป็นคำถามทางจิตวิทยา โดยเล่นเกมที่นำมาถามชื่อ เกมดิ่งพสุธา มีคำถาม 4 ข้อ 
อาจารย์ก็เฉลยคำตอบว่าแต่ละคนที่ตอบตรงกับด้านจิตวิทยาอย่างไร





ความรู้ที่ได้รับ 
    วันนี้เรียนเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล แผน IEP    แผน IEP เป็น แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขาด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน  IEP  
      ครูต้องคัดแยกเด็กพิเศษ ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้จะประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
ประกอบด้วย
- ข้อมูลเด็ก 
- ระบุว่าเด็กต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- ระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมิน
ประโยชน์ต่อเด็ก : เด็กได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน ได้รับการศึกษาฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครู : เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความต้องการของเด็ก การเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง : ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล   
การรวบรวมข้อมูล
•รายงานทางการแพทย์
•รายงานการประเมินด้านต่างๆ
•บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผน
•ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
•กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
•กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
•จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว  กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น
–น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
–น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
ระยะสั้น  ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์  เช่น
ใคร อรุณ 
อะไร กระโดดขาเดียวได้
เมื่อไหร่ / ที่ไหน กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง  ในเวลา 30 วินาที
การใช้แผน
   เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น  นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
การประเมินผล
โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้นควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**



   จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม ลองเขียนแผน IEP นักศึกษาทุกคนจะได้เขียนแผนเป็น
และสั่งงานให้นักศึกษาเขียนแผน IEP มาคนละ 1 แผน ส่งวันที่ 18/พ.ค./2558

 Photobucket - Video and Image Hosting
การนำไปประยุกต์ใช้
         สามารถนำเอาการเขียนแผน IEP ไปใช้สร้างนวัตกรรมการสอนในแบบของเราได้ โดยการเขียนแผน IEP ถือเป็นแผนที่ช่วยให้เด็กพิเศษได้รับการเรียนรู้การช่วยเหลือจากครูผู้สอน  ถ้าเราเขียนแผนเป็นถูกวิธีเราจะช่วยให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้เรียนรู้ตรงจุดที่เขาบกพร่อง ทำให้เขามีความสุขและมีพัฒนาการดีขึ้นได้อีกด้วย

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  พูดคุยกับเพื่อนบ้างเวลาที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน : แต่งกายถูกระเบียบ  เข้าใจเรียนตรงเวลา  บ้างกลุ่มก็นั่งคุยกันบ้างเล็กน้อย แต่ก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนทุกคน

ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย สอนสนุกไม่น่าเบื่อ มีกิจกรรมมาเล่าให้นักศึกษาฟังตลอด มีสาระความรู้คอยบอกนักศึกษา อาจารย์สอนเข้าใจได้ความรู้มากในเรื่องการเขียนแผน

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันอังคารวันที่  14 เมษายน   พ.ศ. 2558




วันหยุดวันสงกรานต์




สัปดาห์ที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันอังคารวันที่  7 เมษายน   พ.ศ. 2558
เวลาเรียน  14.10-17.30  น.


Photobucket - Video and Image Hosting
กิจกรรมวันนี้
ก่อนจะเข้าสู่บทเรียน อาจารย์เฉลยข้อสอบในอาทิตย์ก่อน
เพื่อให้เราได้รู้ในข้อผิดพลาดของเรา และได้คำตอบที่ถูกต้อง
คำตอบนั้นไม่จำเป็นต้องเขียนยาว แต่ควรตอบให้ถูกประเด็น สั้นๆได้ใจความ

จากนั้นอาจารย์ให้ฝึกร้องเพลง 

ความรู้ที่ได้รับ 
เข้าสู่บทเรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ "ทักษะทางการเรียน"
เป้าหมาย : เตรี่ยมความพร้อมเหมือนเด็กทั่วไป  ทำให้เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้" พัฒนาการความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น พัฒนาการดี
ช่วงความสนใจ : เด็กพิเศษจะสนใจไม่เกิน 5 นาที ต้องทำให้เขามีความสนใจ 10-15 นาที มีการเล่านิทานไม่ต้องยาวไป ให้เขามีส่วนร่วมได้มีการออกมาทำท่าทาง ทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจว่าเขาฟังนิทานได้จบเหมือนกัน กิจกรรมศิลปะต้องใช้เวลาไม่นาน ต้องมีการเรียนรู้อื่นเข้ามาแทรก
การเลียนแบบ : การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ ครูควรพูดซ้ำๆ หลายครั้งและชัดเจน ควรใช้คำศัพท์ที่ง่ายต่อเด็ก ควรสั่งเด็กทีละเรื่อง ไม่ควรสั่งหลายเรืองพร้อมกัน
การรับรู้ การเคลื่อนไหว : เด็กจะรับรู้จากการได้ยิน การสัมผัส ลิ้มรส กลิ่น หรือเรียกว่าเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กจะมีการตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก : เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง



         กรรไกรที่เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย ควรเป็นกรรไกรหมายเลข 1 เพราะจับง่าย สบายมือโค้งมน ไม่อันตรายเหมาะแก่เด็กมากที่สุด 

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
• ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ : ฝึกความจำจากการสนทนากับเด็ก เช่น เมื่อเช้าหนูทานอะไร  แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
ฝึกจำชื่อครู เพื่อน  จำตัวละครในนิทาน เป็นต้น
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

สอนเรื่อง มิติสัมพันธ์ ข้างบน ข้างล่าง 

 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
จัดกลุ่มเด็ก
เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
พูดในทางที่ดี
จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
ทำบทเรียนให้สนุก


การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำเอาหลักการ ทฤษฏีที่ต้องใช้สอนเด็กไปใช้ได้จริง โดยเฉพาะเรื่องการเรียนของเด็กพิเศษถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าเราสอนหรือให้ความรู้ที่ผิดไป เด็กก็จะจำไปตลอด ฉะนั่นสิ่งที่อาจารย์สอนมาทั้งเรื่องการกระตุ้นความสนใจเด็กถือเป็นเรื่องสำคัญ  ก่อนที่เรายังไม่เรียนเราไม่รู้เลยว่าต้องทำแบบไหน พอได้เรียนแล้วเข้าใจว่าควรเล่านิทานให้เด็กฟังแบบนิทานสั้นให้เด็กได้มีส่วนร่วม จะทำให้เด็กภูมิใจที่เขาฟังนิทานจนจบ และการเรียกชื่อเด็กควรที่จะเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อน เพื่อให้เขามีสติอยู่เสมอ
การเล่นก็เหมือนกันเราสามารถทำสื่อเองได้ เช่น ทำจิ๊กซอร์เองเหมาะแก่เด็กพิเศษ ว่าควรทำแบบไม่ซับซ้อนและยากเกินไป ทั้งหมดที่อาจารย์สอนเป็นเทคนิคที่ครูควรรู้และนำไปประยุกต์ในแบบของเราได้จริง

ประเมินตนเอง : เข้าห้องตรงเวลา  แต่งกาถูกระเบียบ  มีคุยกับเพื่อนบ้าง ฟังอาจารย์สอนเข้าใจจดตามในสิ่งที่เป็นสาระ

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนมาเรียนน้อย บางคนกลับต่างจังหวัด เพื่อนคุยกันเสียงดังบ้าง บางคนก็เล่นโทรศัพท์ พออาจารย์ดุก็ตั้งใจฟัง สนุกสนานร่วมทำกิจกรรม ร่วมร้อมเพลงกันทุกคน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจง่าย มีเรื่องเล่าต่างๆทำให้ไม่น่าเบื่อ ยกตัวอย่างจากประสบการณ์จริงทำให้ภาพและเข้าใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น 


วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วันอังคารวันที่  31 มีนาคม   พ.ศ. 2558
เวลาเรียน  14.10-17.30  น.


Photobucket - Video and Image Hosting

     วันนี้อาจารย์ให้มาช่วยกันทำพู่ อุปกรณ์กีฬาสีให้รุ่นน้อง
เพราะพรุ่งนี้จะมีการแข่งขันกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์




สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วันอังคารวันที่  24 มีนาคม   พ.ศ. 2558
เวลาเรียน  14.10-17.30  น.




*อาจารย์สอบ*



วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วันอังคารวันที่  17 มีนาคม   พ.ศ. 2558
เวลาเรียน  14.10-17.30  น.


Photobucket - Video and Image Hosting

กิจกรรมวันนี้
อาจารย์มีกิจกรรมแบบทดสอบมาให้นักศึกษาได้เล่นกัน
เกี่ยวกับ "ไร่สตอเบอร์รี่"  โดยมีคำถามทั้งหมด 4 ข้อ
และอาจารย์ก็เฉลยคำตอบว่าตรงกับความรู้สึกของเราไหม


และอาจารย์แจกเนื้อเพลง ให้นักศึกษาไปฝึกร้อง


กิจกรรมที่ 2
เข้าสู่บทเรียน เรื่อง "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง เด็กจะเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนหรือเด็กที่โตกว่า
หัดให้เด็กช่วยเหลือตนเอง ผู้ใหญ่มักจะทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปจนเด็กไม่มีโอกาสได้ทำเอง
จะช่วยเมื่อไหร่ ผู้ใหญ่มักจะช่วยเด็กตอนทำกิจกรรม เด็กจะรู้สึกว่าผู้ใหญ่พึ่งได้เพาะตอนที่เด็กต้องการ






 การเข้าส้วม 


สรุป
                      - ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
                     - ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
                     - ควาสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
                     - ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
                     - เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ


กิจกรรมที่ 3 
อาจารย์ให้เลือกสีที่ชอบมาจุดตรงกลาง จากนั่นให้ระบายสีเป็นวงกลม

จากนั้นอาจารย์ให้นำวงกลมไปติดเป็นต้นไม้ของห้อง
และอาจารย์จะมาบอกว่าความคิด ความรู้สึกของห้องนี้เป็นอย่างไร     


การนำไปประยุกต์ใช้ 
      สิ่งที่นำไปสอนเด็กพิเศษได้นั้นคือสอนให้เด็กช่วยเหลือตัวเองในสังคมได้ สิ่งที่อาจารย์สอนมานั้นถือว่าเป็นความรู้ ความเข้าใจอย่างมากนำไปใช้สอนได้จริง เราไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับเด็กพิเศษ ในเรื่องของเด็กจะเลียนแบบคนที่โตกว่า เราควรให้อิสระแก่เด็ก คอยช่วยเหลือเด็กอยู่ห่างๆให้เด็กได้มีโอกาสทำเอง และเราควรทำการย่อยงานให้เด็กแต่ละคนเป็นขั้นตอน สิ่งเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากถ้าในอนาคตเราได้ไปสอนเด็กพิเศษ

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย คุยกับเพื่อน แอบกินขนมบ้าง แต่ก็ทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้อย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่ก็คุยกันจนอาจารย์ก็ดุ ร่วมกันทำกิจกรรมได้ดี

ประเมินอาจารย์ : มีเทคนิคการสอนที่ไม่เบื่อ สอนเข้าใจ มีการยกตัวอย่างกิจกรรม และเล่าเรื่องราวที่อาจารย์เคยเจอมา ซึ่งทำให้เรามีความรู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้น

                                                                                                      Photobucket - Video and Image HostingPhotobucket - Video and Image Hosting