วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันอังคารวันที่  7 เมษายน   พ.ศ. 2558
เวลาเรียน  14.10-17.30  น.


Photobucket - Video and Image Hosting
กิจกรรมวันนี้
ก่อนจะเข้าสู่บทเรียน อาจารย์เฉลยข้อสอบในอาทิตย์ก่อน
เพื่อให้เราได้รู้ในข้อผิดพลาดของเรา และได้คำตอบที่ถูกต้อง
คำตอบนั้นไม่จำเป็นต้องเขียนยาว แต่ควรตอบให้ถูกประเด็น สั้นๆได้ใจความ

จากนั้นอาจารย์ให้ฝึกร้องเพลง 

ความรู้ที่ได้รับ 
เข้าสู่บทเรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ "ทักษะทางการเรียน"
เป้าหมาย : เตรี่ยมความพร้อมเหมือนเด็กทั่วไป  ทำให้เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้" พัฒนาการความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น พัฒนาการดี
ช่วงความสนใจ : เด็กพิเศษจะสนใจไม่เกิน 5 นาที ต้องทำให้เขามีความสนใจ 10-15 นาที มีการเล่านิทานไม่ต้องยาวไป ให้เขามีส่วนร่วมได้มีการออกมาทำท่าทาง ทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจว่าเขาฟังนิทานได้จบเหมือนกัน กิจกรรมศิลปะต้องใช้เวลาไม่นาน ต้องมีการเรียนรู้อื่นเข้ามาแทรก
การเลียนแบบ : การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ ครูควรพูดซ้ำๆ หลายครั้งและชัดเจน ควรใช้คำศัพท์ที่ง่ายต่อเด็ก ควรสั่งเด็กทีละเรื่อง ไม่ควรสั่งหลายเรืองพร้อมกัน
การรับรู้ การเคลื่อนไหว : เด็กจะรับรู้จากการได้ยิน การสัมผัส ลิ้มรส กลิ่น หรือเรียกว่าเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กจะมีการตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก : เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง



         กรรไกรที่เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย ควรเป็นกรรไกรหมายเลข 1 เพราะจับง่าย สบายมือโค้งมน ไม่อันตรายเหมาะแก่เด็กมากที่สุด 

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
• ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ : ฝึกความจำจากการสนทนากับเด็ก เช่น เมื่อเช้าหนูทานอะไร  แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
ฝึกจำชื่อครู เพื่อน  จำตัวละครในนิทาน เป็นต้น
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

สอนเรื่อง มิติสัมพันธ์ ข้างบน ข้างล่าง 

 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
จัดกลุ่มเด็ก
เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
พูดในทางที่ดี
จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
ทำบทเรียนให้สนุก


การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำเอาหลักการ ทฤษฏีที่ต้องใช้สอนเด็กไปใช้ได้จริง โดยเฉพาะเรื่องการเรียนของเด็กพิเศษถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าเราสอนหรือให้ความรู้ที่ผิดไป เด็กก็จะจำไปตลอด ฉะนั่นสิ่งที่อาจารย์สอนมาทั้งเรื่องการกระตุ้นความสนใจเด็กถือเป็นเรื่องสำคัญ  ก่อนที่เรายังไม่เรียนเราไม่รู้เลยว่าต้องทำแบบไหน พอได้เรียนแล้วเข้าใจว่าควรเล่านิทานให้เด็กฟังแบบนิทานสั้นให้เด็กได้มีส่วนร่วม จะทำให้เด็กภูมิใจที่เขาฟังนิทานจนจบ และการเรียกชื่อเด็กควรที่จะเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อน เพื่อให้เขามีสติอยู่เสมอ
การเล่นก็เหมือนกันเราสามารถทำสื่อเองได้ เช่น ทำจิ๊กซอร์เองเหมาะแก่เด็กพิเศษ ว่าควรทำแบบไม่ซับซ้อนและยากเกินไป ทั้งหมดที่อาจารย์สอนเป็นเทคนิคที่ครูควรรู้และนำไปประยุกต์ในแบบของเราได้จริง

ประเมินตนเอง : เข้าห้องตรงเวลา  แต่งกาถูกระเบียบ  มีคุยกับเพื่อนบ้าง ฟังอาจารย์สอนเข้าใจจดตามในสิ่งที่เป็นสาระ

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนมาเรียนน้อย บางคนกลับต่างจังหวัด เพื่อนคุยกันเสียงดังบ้าง บางคนก็เล่นโทรศัพท์ พออาจารย์ดุก็ตั้งใจฟัง สนุกสนานร่วมทำกิจกรรม ร่วมร้อมเพลงกันทุกคน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจง่าย มีเรื่องเล่าต่างๆทำให้ไม่น่าเบื่อ ยกตัวอย่างจากประสบการณ์จริงทำให้ภาพและเข้าใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น